วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

“ฟอยล์ห่ออาหาร” เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 


❝ ฟอยล์ห่ออาหาร หรือ อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum foil) ❞

ทำจากโลหะอะลูมิเนียม นำมาหลอม และรีดให้เป็นแผ่นบาง เป็นบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถรักษาความสดของอาหาร ป้องกันการสูญเสียน้ำ การซึมผ่านของไขมันและน้ำมันได้ดี และยังป้องกันอากาศภายนอก หรือกลิ่นแปลกปลอม เข้าไปสัมผัสกับอาหาร จึงนิยมนำมาใช้ห่ออาหาร เพื่อเก็บไว้ในตู้เย็น ห่ออาหารสำหรับ การไปปิกนิก รวมถึงห่ออาหารเพื่อนำเข้าอบ หรือย่างอีกด้วย

แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ใช้เพื่อบรรจุอาหาร หรือหุ้มห่ออาหาร มี 3 ลักษณะ คือ หนึ่งคือ แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ แบบธรรมดา สองคือ แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่มีการเคลือบด้วยสาร และสามคือ แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่มีการเคลือบ หรือประกบกับกระดาษ หรือฟิล์มพลาสติก


ควรใช้ฟอยล์ห่ออาหารด้านไหนห่อหุ้มอาหารกันแน่?


ม้วนอะลูมิเนียมฟอยล์ ม้วนที่ขายในท้องตลาด มักจะมีด้านหนึ่งเป็นลักษณะด้าน และอีกด้านหนึ่งมีลักษณะมันเงา  เพราะคุณสมบัติของแผ่นอะลูมิเนียมทั้งสองด้าน เหมือนกันทุกประการ จะใช้ด้านใดก็ได้ แต่ลักษณะพื้นผิวที่แตกต่างกันนั้น เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เพราะในการผลิตอะลูมิเนียมฟอยล์ที่มีความหนาน้อยกว่า 0.005 นิ้วนี้ จะใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ 2 แผ่นประกบกัน แล้วเข้าเครื่องรีดพร้อมกัน เพื่อป้องกันการฉีกขาด เมื่อแผ่นฟอยล์ออกมาจากเครื่องรีด ด้านที่สัมผัสกับลูกกลิ้งก็จะมีผิวหน้ามันเงา ในขณะที่ด้านที่ไม่สัมผัสกับลูกกลิ้งมีผิวด้าน นั่นเอง แต่ถ้าเป็นอะลูมิเนียมฟอยล์ชนิด Non-Stick Aluminum Foil ซึ่งจะมีสารเคลือบไว้ที่ผิวด้านหนึ่ง ในการห่ออาหารให้ใช้ด้านที่มีสารเคลือบนั้นอยู่ด้านใน


ในการนำ อะลูมิเนียมฟอยล์ มาห่ออาหารไปผ่านความร้อน แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ อาจเปลี่ยนเป็นสีดำ เนื่องจากไอน้ำที่เกิดขึ้นในการปรุงอาหาร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ระหว่างออกซิเจน กับอะลูมิเนียม ให้กลายเป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ ดังนั้นไม่ต้องตกใจ เพราะสารชนิดนี้ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

นอกจากนี้ อะลูมิเนียมฟอยล์ ยังอาจทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น โลหะเงิน เหล็ก หรือกับส่วนประกอบในอาหาร เช่น เกลือ น้ำส้มสายชู อาหารที่มีกรดสูง ทำให้แผ่นอะลูมิเนียม เกิดเป็นรูขึ้นมา และ อาจมีเกลืออะลูมิเนียมสีดำ ติดกับตัวอาหารได้ สารสีดำนี้ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจจะทำให้อาหารดูไม่สวยงาม จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้อะลูมิเนียมฟอยล์กับโลหะ และส่วนประกอบอาหารเหล่านี้


ฟอยล์ห่ออาหารหรืออะลูมิเนียมฟอยล์เข้าเตาไมโครเวฟได้หรือไม่
?


 

สำหรับเรื่องการใช้ อะลูมิเนียมฟอยล์ กับเตาไมโครเวฟนั้น ไม่แนะนำให้นำอาหารที่บรรจุอะลูมิเนียมฟอยล์เข้าเตาไมโครเวฟ เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟเมื่อกระทบกับภาชนะโลหะ จะเกิดการสะท้อนกลับหมด ทำให้คลื่นไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ อาหารที่ต้องการปรุงจะไม่สุก และหลอดแมกนีตรอนซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นไมโครเวฟ ก็จะเกิดความเสียหายด้วย

อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ชิ้นเล็ก ๆ ห่อหุ้มอาหาร ตรงบริเวณที่มีความหนาน้อยกว่าส่วนอื่น ๆ เช่น หางปลา ปีกไก่ เพื่อป้องกันการสุกมากเกินไปได้

ข้อแนะนำในการใช้ฟอยล์กับเตาไมโครเวฟ ดังนี้

  • ใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ใหม่จากม้วน อย่าใช้ชิ้นที่ใช้แล้ว ซึ่งมีรอยยับย่นมาก เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดประกายไฟได้สูง
  • ใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ปกคลุมไม่เกิน ส่วนของชิ้นอาหาร
  • หุ้มแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ให้แนบไปกับรูปทรงของอาหาร โดยไม่ให้มีชิ้นส่วนที่ยื่น หรือหักเป็นมุม
  • วางส่วนที่หุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ ให้ห่างจากผนังเตาไมโครเวฟอย่างน้อย 1 นิ้ว
  • ถ้าเห็นมีประกายไฟเกิดขึ้น ให้ดึงอะลูมิเนียมฟอยล์ออกทันที


อลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหาร ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้จริงหรือไม่?

มีความเชื่อต่อ ๆ กันมาว่า การใช้อลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหาร มีส่วนทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากกรมวิทย์ชี้ว่า การที่อลูมิเนียมจะปนเปื้อนกับอาหาร ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะยังไร้งานวิจัยแน่ชัด เผยผลทดสอบภาชนะอะลูมิเนียมบรรจุอาหาร พบสภาพอุณหภูมิห้อง บรรจุอาหารร้อน ละลายออกมาน้อยมาก แต่ละลายออกมามาก เมื่อสัมผัสสารละลายกรดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ยืนยันยังใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหารได้


 ภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ในการเก็บอาหาร และ ถนอมอาหาร ที่จะทำให้อาหารแสนอร่อยของคุณ อยู่ไปอีกนาน 
ถ้าคุณชอบในการทำอาหาร และมักจะซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารมาครั้งละมาก ๆ ให้เก็บได้นาน ๆ ซึ่งในปัจจุบัน การเลือกซื้อภาชนะบรรจุอาหารมีหลายแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น กล่องเก็บอาหาร ขวดโหล ถุงซีลสุญญากาศ ถุงใส่อาหาร เครื่องสุญญากาศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นอุปกรณ์เสริม ที่จะช่วยให้เมนูแสนโปรดของคุณ มีอายุนานขึ้น มาเลือกดูสินค้า กับ SGE สิ !! เรามีสินค้าอุปกรณ์ในการจัดเก็บอาหารให้คุณเลือกมากมาย 

ที่มา : SGETHAI

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น